"มันก็คือ"ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ"ที่นำเอาปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพหลายๆอย่างมารวมกันเพื่อให้มีสารอาหารและทุกๆอย่างที่พืชต้องการรวมถึงจุลินทรีย์,สารชีวภัณฑ์ป้องกันโรคพืช อย่างครบถ้วนอยู่ในตัวนี้ตัวเดียว แล้วพัฒนาให้มาอยู่ในรูปของ"ผงแห้ง"เพื่อให้ง่ายในการใช้,ในการขนส่ง,ง่ายในการเก็บรักษา,ประหย้ดทั้งเวลาทั้งค่าใช้จ่าย
ราคาและการจัดส่ง
ใน 1 ถุงบรรจุในปริมาณ 1.6-1.7 ลิตร หรือประมาณ 450 กรัม
ขายในราคา ซองละ 159 บาท
ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ได้ผ่านการทดลองและวิจัยมาอย่างดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากการใช้ปุ๋ยพืชประเภท "อินทรีย์"
เช่น กลิ่นเหม็น,มีธาตุอาหารน้อยต้องใช้บ่อย,จัดเตรียมได้ยากและใช้เวลานาน,มีค่าขนส่งสูง,เก็บรักษาได้ยากเป็นต้น
น้ำหมักอินทรีย์แบบผงแห้งดีอย่างไร?
เป็นแบบผง : แก้ปัญหาเหม็น, ขนส่งง่าย ราคาถูก, เก็บรักษาได้นาน
มีทุกอย่างที่พืชต้องการ: ไม่ต้องซื้อปุ๋ยหลายตัวมาผสมกันเยอะแยะที่ทั้งยุ่งยากและสิ้นเปลือง
คุ้ม: ปุ๋ยทั่วไปรดน้ำก็หายไปพร้อมน้ำกว่า 80% ต้นไม้ได้ใช้ในตอนนั้นเพียง 10% ในขณะที่ปุ๋ยผงนี้จะอยู่ในดินและค่อยๆละลายออกให้พืชตามที่พืชต้องการ แก้ปัญหาความเข้มข้นของปุ๋ย ที่จะทำให้ต้นไม้หรือพืชได้รับผลกระทบและโตไม่สม่ำเสมอ
ใช้ไปนานๆดีต่อดิน: การใช้ปุ๋ยเคมีไปเรื่อยๆจะส่งผลกระทบต่อดินปลูก แต่หากใช้ปุ๋ยผงหรือน้ำหมักอินทรีย์แบบผงตัวนี้ ดินจะอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นเรื่อยๆ รากพืชจะสามารถดูดธาตุอาหารไปใช้ได้อย่างสมบูรณ์และยาวนาน เพราะว่าปุ๋ยตัวนี้มีจุลินทรีย์ที่ใช้ในการย่อยสลายอยู่หลายตัว
พืชแข็งแรงไม่อ่อนแอต่อโรคและแมลง: เพราะว่า ปุ๋ยตัวนี้มีสารชีวภัณฑ์ที่ช่วยป้องกัน กำจัด โรคพืชและแมลงอยู่ในตัว เช่นเชื้อไตรโคเดอร์ม่า,เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส เป็นต้น รวมทั้งเชื้อจุลินทรีย์ ที่จะข่วยปรับสภาวะดินปลูกให้เป็นระบบอินทรีย์ตามธรรมชาติทำให้ต้นไม้แข็งแกร่งทนทานต่อโรคและแมลง
วิธีการนำไปใช้
ใช้ได้ง่ายมาก เพียง
1.นำไปโรยที่บริเวณรากของต้นไม้อย่างทั่วถึง ทำการคลุกกับผิวดินแล้วรดน้ำตามทันที
2.นำไปฝั่งเป็นจุดๆในระดับความลึกที่ไกล้ๆกับรากฝอยของต้นไม้
3.แช่น้ำไว้สัก5 วันแล้วนำเอาน้ำที่ได้ไปรดต้นไม้ หรือกรองแล้วนำไปพ่นได้
ปริมาณในการใช้
การใช้นั้นไม่มีปริมาณกำหนดที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช,สถานที่ปลูก,อายุของพืช จากการเก็บข้อมูลจากการวิจัยพบว่า
1.ใน 1 ซอง สามารถใช้กับพืชผักหรือพืชอายุสั้นได้ประมาณ 60-80 ต้นใน1รอบของพืชผัก(45วัน)ใส่ 2ครั้งคือ ใส่ครั้งแรกเมื่อพืชอายุได้ 15 วัน (นับจากเพาะเมล็ด)และครั้งที่ 2 เมื่อพืชอายุ 30 วัน
2.อีก 1 แปลงทดลองทำการแบ่งใส่ 10 วันครั้ง ไม่นับอายุก่อนลงแปลงปลูก)ทั้งหมด 3 ครั้ง(หมดซอง) พบว่าการเจริญเติบโตได้ดีมากพืชจะค่อยๆโตอย่างเสม่ำเสมอ
3.อีก 1 แปลงทดลองทำการใส่ครั้งแรก ในจำนวนมากกับผักที่มีอายุ35วันหรือในช่วงกำลังเติบโตเต็มที่(เพื่อทดสอบผลกระทบต่อผัก)พบว่าพืชไม่ได้ผลกระทบใดๆ แสดงว่าใส่ในปริมาณมากก็สามารถใส่ได้ ทั้งนี้สามารถเข้าใจได้ว่า ปุ๋ยตัวนี้ค่อยๆละลายปลดปล่อยปุ๋ยออกมา มันจึงไม่มีความเข้มข้นสูงในการใส่ในปริมาณมากๆ
สรุปถึงปริมาณการใช้
สรุปได้ว่า
1. จะสามารถใส่ได้ในปริมาณเท่าใดก็ได้ ทั้งนี้ควรจะพิจารณาถึง ชนิด,อายุ,ช่วงอายุ ของต้นพืชตามความเหมาะสม
2.ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินถ้าพืชใช้ไม่หมดก็จะยังตกค้างอยู่ให้พืชที่ปลูกในชุดต่อไปนำไปใช้ได้อย่างต่อเนื่อง
3.ต้นไม้ที่ปลูกอยู่ในกระถาง ที่ทรุดโทรมมาก แนะนำให้เจาะหลุมลึกและฝังปุ๋ยตัวนี้ลงไป เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน
>>>แนะนำให้ใส่น้อยแต่บ่อยครั้งจะดีมากกว่าใส่มากๆแล้วใส่น้อยครั้ง<<<
ข้อมูลทางวิชาการ
รายละเอียดคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์
จากคุณสมบัติข้างต้นทั้งหมดทำให้ ได้ "ระบบอินทรีย์"ให้กับต้นพืช ซึ่งหมายถึงการทำงานของจุลินทรีย์จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์และสมดุลในดินปลูกที่ต้นพืชกำลังใช้เป็นที่เจริญเติบโต โดยเฉพาะ ต้นไม้ที่ปลูกในกระถาง
จุลินทรีย์ที่เราใส่ไว้ในผลืตภัณฑ์
1. จุลินทรีย์กลุ่มที่ ๑ ประเภทย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในสภาพแห้ง(ประเภทใช้ทำปุ๋ยหมัก)
2. จุลินทรีย์กลุ่มที่ ๒ ประเภทย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในสภาพเปืยกหรือแช่น้ำ(ประเภทใข้ทำน้ำหมัก)
3. จุลินทรีย์กลุ่มที่ ๓ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน โดยมีความสามารถป้องกันหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคพืชที่ทำให้เกิดอาการรากหรือโคนเน่า ได้แก่ เชื้อไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma sp.) และ บาซิลลัส (Bacillus sp.)
4. จุลินทรีย์กลุ่มที่ ๔ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ประเภทเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืชได้โดยตรง คือ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ที่มีคุณสมบัติ เซลล์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะประกอบด้วยโปรตีนประมาณร้อยละ 60 ซึ่งโปรตีนเหล่านี้ประกอบด้วย กรดอะมิโนที่จําเป็นครบถ้วน และยังมีวิตามินและแร่ธาตุ เช่น B1 B2 B6 B12 กรดโฟลิค วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี วัตถุสีแดง และสารโคแฟคเตอร์ เช่น ยูบิควิโนน โคเอนไซม์คิวเท็น ไซโตไคนิน ซีเอติน ออกซิน กรดอินทรีย์
Comments